Congratulation

ทาง บริษัท แอคคิวท์ เรียลตี้ จำกัด ขอแสดงความยินดีกับน้องใจคนเก่งด้วยนะคะ กับรางวัลพนักงานขายที่ทำยอดได้ตามเป้าที่ทางบริษัทฯ ตั้งไว้ เย้ๆๆๆ

และขอให้เซล์ลท่านอื่นๆ ได้รับรางวัลนี้กันถ้วนหน้าในการมอบรางวัลครั้งต่อไปด้วยนะคะ ^_^

ACUTE REALTY WILL BE ATTENDING THE EVENT “HOUSE AND CONDO SHOW 26 TH ”

Acute Realty will be attending the event “House and Condo Show 26 th ”at Queen Sirikit National Convention Center, Zone P 27-28 on 10.00 am – 8.00 pm 15th – 18th March 2012.

เจอกันที่งานบ้านและคอนโด ครั้งที่ 26 ศูนย์สิริกิติ์ โซน P 27-28 ตั้งแต่วันที่ 15-18 มีนาคม 2555 เวลา 10.00 – 20.00 น. แล้วพบกันนะคะ — ที่ Acute Realty Booth P27-28

Like for Children

กิจกรรมดีๆ ในเดือนแห่งความรัก มาร่วมกันสร้างหัวใจที่แข็งแกร่งให้แก่ “เด็กยากไร้หัวใจพิการ” ในมูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 29 กุมภาพันธ์ 2555 เพียงกด Like ที่หน้าแฟนเพจ AcuteRealty ที่
http://www.facebook.com/AcuteRealty

หลักการลงทุน ในอพาร์ทเม้นท์ขนาดเล็ก (ใครว่าไม่คุ้ม)

ที่ดินแปลงเล็ก 80-150 ตร.ว. บางคนว่าไม่ได้ทำอะไร บางคนว่าทำอะไรไม่ได้นอกจากบ้านพักอาศัย เพราะที่ดินน่าจะมีขนาดเล็กเกินไป ความคิดเห็นนี้ถูกถกเถียงในวงกว้างเพราะหากอยู่ในที่ดินที่แพงมาก ๆ จะปลูกบ้านอย่างเดียวคงจะไม่ได้ เพราะน่าจะทำกำไรจากการลงทุนในที่ดินแปลงเล็กได้บ้าง
มิเช่นนั้นผู้ประกอบการรายย่อยไม่ต้องลืมตาอ้าปากในบริเวณผู้ดีกันซะที ปล่อยให้คนใหญ่ ๆ ทำกันไปก็คงจะไม่มันส์

รศ.ทิพย์สุดา ปทุมนนท์ หรือ อ.แม้ว ผู้ให้กำเนิดวิชาชีพกับผู้เขียนสอนปรัชญาทางสถาปัตยกรรมในการใช้งานเหมือนตัวหนังสือว่า “ด” ดอเด็กหัวกลมคิดน้อย ใสซื่อ หลังตรง ไม่เหมือน “ฒ”ทอผู้เฒ่า หัวแตก หลังงอ มีไม้เท้า

ชี้ให้เห็นว่า ผู้ใหญ่คิดอะไรได้รอบคอบ เยอะแยะ คิดแบบหัวแตก ส่วนเด็ก ๆ คิดจากความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น การที่เราจะสร้างสถาปัตยกรรมให้กับคนรุ่นใหม่ที่อยากลงทุนอย่างพอเพียงย่อมมีทางออกทางสถาปัตยกรรม

อย่างตัวหนังสือที่เราเห็น เหมือนประเทศจีน การเขียนหนังสือนับเป็นศิลปะและซ่อนปรัชญาการทำงาน+จิต +วิญญาณ ต่าง ๆ มากมาย การเลือกพื้นที่ต้องถูกโซนนิ่งผังสีที่ขอใบอนุญาตอาคารพักอาศัยรวม ความสูงต้องไม่เกิน 23 เมตร (เดี๋ยวจะอธิบายในคราวหน้า) อาคารพื้นที่ประมาณไม่เกิน 2,000 ตร.ม. ตามกฎหมายกำหนด

ผังสีต้องอยู่ในบริเวณ สีส้ม สีน้ำตาล หรือสีแดง บางคนซื้อที่ดินผิดแปลง ผิดโซนสีอื่นไม่ได้ เช่นบริเวณพุทธมณฑลจะเป็นสีเขียว ได้ใบอนุญาตบ้านเดี่ยว 50 ตร.ว. เท่านั้น ผังสีแต่ละผังต้องดูตัวเลขย่อตามหลัง ซึ่งจะบอกได้ว่าสามารถสร้างได้สัดส่วนเท่าไหร่ 1:3, 1:7, 1:10

มีสูตรสำเร็จเพิ่มเติมดังนี้
– รูปร่างที่ดินเป็นทรงสี่เหลี่ยม จะสี่เหลี่ยมอย่างไรก็ได้เพราะอาคารจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมรับกับรูปร่างของอาคารพักอาศัยรวม
– ถนนหน้าโครงการควรมีขนาดกว้างตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป เพื่อความสะดวกในการเข้าออกและความสูงของอาคาร   ตามกฎหมาย เพราะขนาดความสูงกำหนดโดยความกว้างของถนนด้วย (จะกล่าวในภายหลัง)
– ขนาด 5 ชั้น ไม่ต้องมีลิฟต์ก็ได้ แต่ถ้า 5 ชั้นขึ้นไปควรมี พูดง่าย ๆ คือ 6-8 ชั้น
– ทางรัฐศาสตร์ควรคำนึงถึงเพื่อนบ้านรอบข้างและการสานสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ราชการด้วย
– ขนาดห้องเฉลี่ยประมาณ 20 ตร.ม. ขึ้นไป รวมห้องน้ำไม่รวมระเบียง
– ฝ้าเปลือย
– แอร์, เครื่องทำน้ำอุ่น, เคเบิล   ทีวี, คีย์การ์ด
– การวางอาคารให้ร่มเย็น ถูกทิศลมและแดดร่มให้มากที่สุด
– ระยะคุ้มทุนประมาณ 7-9 ปี
– ราคาค่าก่อสร้าง ตร.ม. ละ 10,000 บาท
– ราคาค่าออกแบบ จะเป็น % ของการก่อสร้าง
– การเว้นรอบอาคาร เว้นรอบ 2 เมตร ไม่มีช่วงเปิด
– ด้านที่มีช่องเปิด 6 วัน 3 เมตร
– ที่ดินควรเลือกที่ทำเลดี คนเยอะ ๆ เช่น หลัง มรภ.จันทรเกษม  รัชดา ฯลฯ

ตารางค่าออกแบบ (แบบมืออาชีพทำ) ไม่ใช่แบบเด็กสมัครเล่น
– ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี
– งบประมาณใน 100 ตร.ว. 8 ชั้น มีลิฟต์อยู่ที่ 18 ล้าน 1,500 ตร.ม., ตร.ม.ละ 1,200 บาท ไม่รวมที่ดิน ตกแต่งภายในอีกห้องละ 35,000 บาท
– พื้นระบบไร้คาน (post tension)

Animation ตัวที่ 9 จากทีม รู้ สู้! Flood มาดูกันว่าเมื่อน้ำลด เราจะกู้บ้านตัวเองกลับมาได้ยังไง ตั้งแต่เตรียมสติก่อนเปิดประตูบ้าน เตรียมตัวทำความสะอาด วิธีการเริ่มตรวจสอบระบบไฟฟ้าว่าใช้ได้แล้วรึยัง การแยกขยะง่ายๆ เพื่อลดปริมาณขยะ จนถึงวิธีการต่อสู้กับเชื้อรา สารพัดวิธีที่จะช่วยให้เรารับมือแบบมีสติกับบ้านแสนรักที่เปลี่ยนไปหลังน้ำท่วม

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อกลับเข้าบ้านหลังน้ำท่วม

หลังจาก น้ำท่วม ไปแล้ว เมื่อน้ำลด หรือระบายไปแล้ว การกลับเข้าบ้านอีกครั้ง หลังน้ำท่วม ควรปฎิบัติดังนี้

1. ดูแลสุขภาพจิตของตนเองและครอบครัว ให้ดีเสียก่อน แน่นอนว่าการกลับบ้านครั้งนี้ อาจจะมีข้าวของเสียหาย (หรือบุคคลก็ตาม) แต่คุณๆยังปลอดภัยอยู่ อย่าให้ความสูญเสียนั้นๆทำให้จิตใจเศร้าหมองจนทำอะไรไม่ได้

2. การเข้าต้องตรวจตราความปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณที่ยังชื้นแฉะอาจจะยังมีไฟฟ้าลัดวงจรอยู่ ควรยกคัทเอาท์ไฟฟ้าให้เรียบร้อยก่อนจัดการบริเวณที่ยังเปียก รวมทั้งเช็คแก๊สที่อาจจะรั่วอยู่ ให้รีบปิด หรือเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากสงสัยว่าว่าแก๊ส อย่าทำอะไรให้เกิดประกายไฟ

3. น้ำที่ขังอยู่ และตะกอนน้ำท่วม เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค และอาจจะมีสัตว์มีพิษตกค้างอยู่ให้ตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน และหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำขังนั้น

4. ตรวจสอบให้ดีว่า บริเวณที่น้ำท่วมนั้น ไม่ทำให้โครงสร้างบ้าน (เสาไม้ ขื่อ คาน) ต่างๆผุกร่อนพังทลายได้ เพราะจะเป็นอันตราย

5. หากคุณมีชั้นใต้ดิน และน้ำท่วมขังอยู่ หาวิธีสูบหรือระบายน้ำออก เพราะว่า มันจะกร่อนโครงสร้างบ้าน และอาจจะทำให้โครงสร้างยุบตัวได้

6. เก็บข้าวของสำคัญ และถ่ายรูปความเสียหาย ไว้สำหรับการยื่นกับประกัน (ถ้ามี)

7. ทำความสะอาดถังเก็บน้ำ ท่อกรองน้ำ เพื่อสุขอนามัยต่อไป

8. อาหารของกินต่างๆที่ตกค้างระหว่างน้ำท่วม ให้ทิ้งให้หมด

9. ถ้าเป็นไปได้ ทำความสะอาดพื้นบ้าน ฝาผนังด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคด้วย

รวมรวมจาก คู่มือรับมือน้ำท่วม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คู่มือรับมือน้ำท่วมงานสื่อสารนานาชาติ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ csa.com

การซ่อมแซม บ้าน หลังน้ำท่วม

รอบบ้านมีน้ำท่วมจะทำอย่างไร
ในกรณีที่บริเวณรอบบ้านต่ำกว่าถนนสาธารณะ ซึ่งเพิ่มความสูงมาทีหลัง ทำให้บ้านต่ำ มาก มีวิธีแก้ปัญหาดังนี้
การแก้ปัญหาก็คือ ทางเข้าหน้าบ้านทำความลาดเป็นลักษณะหลังเต่า เพื่อป้องกันน้ำจากถนนไม่ให้เข้าบริเวณบ้าน และต้องทำขอบคันดินรอบบ้านหรือทำรั้วด้านล่างให้ทึบ เพื่อป้องกันน้ำ พร้อมทั้งทำท่อระบายน้ำรอบบ้าน โดยมีบ่อพักรวม เพื่อปั๊มน้ำออกนอกบ้านเมื่อเวลาจำเป็น  อีกวิธีถ้ามีเงินพอ ก็ควรถมที่ให้สูงกว่าระดับถนนสาธารณะเลย ก็จะแก้ปัญหาได้ถาวร

การยกบ้านเพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม
ถ้าน้ำท่วมมากๆ จะยกบ้านให้หนีปัญหาน้ำท่วมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มีสิ่งต่างๆ ที่ต้องระวัง อย่างมาก  ถ้าเป็นบ้านที่มีโครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ ก็พอที่จะเป็นไปได้ เพราะมีน้ำหนักเบา  แล้วการยึดส่วนต่างๆ ก็ยังยืดหยุ่นได้มากกว่า  ถ้าเป็นบ้านที่มีโครงสร้างเป็นปูน ส่วนต่างๆ จะยึดติดกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งเมื่อบิดเพียงเล็กน้อย ก็จะเกิดการแตกร้าวได้ ทั้งยังมีน้ำหนักมากด้วย และบ้านปูนยังมีเสาเข็มที่หล่อติดกับตัวฐานราก จะต้องตัดออกแล้วเสริมฐานรากใหม่ ซึ่งทำได้ยากมาก นอกจากโครงสร้างแล้ว ยังมีงานระบบต่างๆ ที่ติดกับพื้นดิน เช่น ท่อประปา ท่อไฟฟ้า ส่วนต่างๆ เหล่านี้ต้องตัดออก แล้วเชื่อมใหม่ทั้งสิ้น ค่อนข้างยุ่งยาก  ถ้าผู้รับเหมาไม่มีความชำนาญพอ ก็จะเสี่ยงมาก อาจจะเสียบ้านไปทั้งหลัง ค่าใช้จ่ายเหมือนสร้างใหม่เลย

สาเหตุที่น้ำซึมขึ้นมาบนพื้นเวลาน้ำท่วม
ถ้าเวลาน้ำท่วมบ้าน เกิดน้ำซึมขึ้นมาบนพื้นห้อง อาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้
1.โครงสร้างพื้นแตกร้าวอยู่เดิมแล้ว หรืออาจจะเกิดจากแรงดันน้ำก็ได้ แก้ไขโดยสกัดออกให้ร่อง แล้วใช้กาวคอนกรีตอุดให้เรียบร้อย แล้วจึงปิดด้วยวัสดุปูพื้นให้เหมือนเดิม
2. เนื่องจากพื้นเป็นพื้นสำเร็จรูป หรือระบบพื้นที่วางอยู่บนดิน ไม่ได้ต่อยึดกับคาน  ถ้ามีรอยซึมสามารถใช้ซิลิโคนอุดรอยรั่วได้
3. เกิดจากรูที่บริษัทกำจัดปลวกเจาะทิ้งไว้ วิธีแก้ไข เมื่อเจอรูแล้วก็อุดเสียให้เรียบร้อยด้วยไม้ และอุดทับด้วยซิลิโคน

การซ่อมแซมพื้นบ้านหลังน้ำท่วม
หลังน้ำท่วมถ้าพื้นไม่เสียหาย ก็ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ก็สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเสียหาย มีวิธีแก้ไข คือ
-พื้นไม้ปาร์เก้ จะหลุดล่อนง่ายเมื่อโดนน้ำท่วม เพราะติดกับพื้นคอนกรีตด้วยกาว  วิธีแก้ก็คือ ถ้าแผ่นปาร์เก้ไม่เสียหายมากก็ผึ่งลมให้แห้งก่อน รวมถึงพื้นคอนกรีตด้วย  แล้วจึงทาด้วยกาวลาเท็กซ์ หนา 1-2 มิลลิเมตร ค่อยๆ กดลงไปที่เดิมให้แน่น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 วันจึงใช้งานได้ ถ้าเสียหายมากจะเปลี่ยนใหม่ต้องใช้ไม้ชนิดเดียวกับของเดิม
-พื้นพรมต้องลอกออก แล้วนำไปซักและตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนำกลับมาปูใหม่ โดยพื้นคอนกรีตต้องแห้งก่อนเช่นเดียวกัน

การซ่อมแซมผนังบ้านหลังน้ำท่วม
วัสดุต่างๆ ที่ใช้ทำผนังบ้าน เมื่อเวลาถูกน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดความเสียหายแน่นอน มี วิธีแก้ไข คือ
1. ถ้าเป็นผนังไม้ เช็ดทำความสะอาด เพื่อให้ผิวสามารถระเหยความชื้นได้ง่าย เมื่อแห้ง ดีแล้วใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชะโลมที่ผิว หรือทาสีต่อไป วิธีที่ดีควรทาสีด้านในบ้านก่อน ทิ้งไว้ 5-6 เดือน จึงทาสีด้านนอก
2. ถ้าเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ก็ใช้วิธีเดียวกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งให้ระเหยความชื้นนานกว่า  ผนังไม้ เพราะมีความหนามากกว่า
3. ถ้าเป็นผนังยิบซั่มบอร์ด ก็เลาะเอาแผ่นที่เสียออก ถ้าโครงเคร่าเป็นโลหะก็สามารถติดแผ่นใหม่ได้เลย แต่ถ้าโครงเคร่าเป็นไม้ ต้องทิ้งไว้ให้ความชื้นในไม้ระเหยหมดก่อน จึงจะติดแผ่น ใหม่ได้

การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม
เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้ วอลล์เปเปอร์จะมีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ  จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้ ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเป็นคราบเช็ดไม่ออก ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ โดยเลือกให้มีลวดลายเหมือนเดิม ก็จะได้ผนังสวยงามเหมือนก่อนน้ำท่วม

การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม
การซ่อมแซมฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด  ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ
-ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่
– ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วย
– ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่

การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม
ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ
1. ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย
2.ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้

การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ
– เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว
– อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง
– ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่

การทาสีบ้านหลังน้ำท่วม
การทาสีบ้านหลังน้ำท่วม ควรจะทำเป็นสิ่งสุดท้าย ควรที่จะซ่อมแซมส่วนอื่นๆ เสียก่อน ปล่อยให้แห้งสนิทก่อน แล้วจึงทำการแก้ไข  เพราะสีทุกชนิดที่ใช้ทาบ้าน เมื่อโดนน้ำท่วมนานๆ ก็จะเกิดการลอกและล่อนออกมาได้ เนื่องจากความชื้นของน้ำ วิธีแก้ไขคือ ต้องขูดสีเดิมที่ลอกและล่อนออก ทำความสะอาดผนังให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ให้แห้งสนิท ถ้าทำได้ควรจะเป็น 3-6 เดือนเลยยิ่งดี เมื่อแห้งแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อรา แล้วจึงทาทับด้วยสีจริงอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง

การตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม
หลังน้ำท่วมระบบที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามไปก็คือ ระบบประปาภายในบ้าน มีสิ่ง ที่ควรตรวจสอบ ดังนี้
– ถังเก็บน้ำใต้ดิน ต้องตรวจดูว่าน้ำท่วมถึงหรือเปล่า ถ้าท่วมควรล้างภายในถังทั้ง หมด เพราะน้ำที่ท่วมไม่สะอาดเท่าน้ำประปา
– ถ้ามีปั๊มน้ำต้องตรวจดูว่าเครื่องทำงานผิดปกติหรือเปล่า แรงดันน้ำลดหรือไม่ ถัง อัดลมเก็บแรงอัดไว้ได้นานหรือเปล่า แต่ถ้าน้ำท่วมปั๊ม ต้องรอให้แห้งเสียก่อน อย่าใช้งานทันที ถ้ามีปัญหาควรตามช่างมาแก้ไขจะดีกว่า เพราะอาจจะทำให้ไฟไหม้ได้

ปัญหาต่างๆ ของส้วมหลังน้ำท่วม
ปัญหาต่างๆ ของบ้านหลังน้ำท่วมจะมีอยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับส้วมมีในระหว่างน้ำท่วม เราคงปิดระบบไฟฟ้าทั้งหมด  แต่เมื่อน้ำลดแล้ว เราต้องตรวจสอบดังนี้
1. เปิดคัตเอ๊าต์ให้ไฟเข้าระบบ ถ้าส่วนใดยังชื้นอยู่คัตเอ๊าต์จะตัดและฟิวส์จะขาดทิ้งไว้ประมาณ 1 >วัน เปลี่ยนฟิวส์ แล้วลองเปิดใหม่ ถ้ายังตัดอีก คงต้องตามช่างไฟฟ้ามาตรวจดู
2. เมื่อไฟไม่ตัดแล้วลองเปิดไฟดูทุกดวง แล้วใช้ไขควงชนิดตรวจกระแสไฟโดยเฉพาะ
3. ดับไฟทุกจุดและถอดเครื่องใช้ไฟฟ้าตามปลั๊กออกทั้งหมด แล้วตรวจดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่าตัวเลขยังเดินอยู่หรือเปล่า ถ้าเดินแสดงว่าระบบไฟฟ้าในบ้านรั่ว ควรตามช่างไฟฟ้ามาเช็คดู

วิธีเตรียมระบบไฟฟ้าสำหรับบ้านที่น้ำท่วม
ระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มีอันตรายมาก สำหรับบ้านที่น้ำท่วมเป็นประจำ ควรเตรียมระบบไฟฟ้าใหม่ ดังนี้
– ตัดระบบไฟฟ้าของปลั๊กเดิมทิ้ง ย้ายให้สูงขึ้นมาจากระดับพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้พ้นระดับน้ำ ส่วนชั้นบนของบ้านสองชั้นไม่จำเป็นต้องย้าย เพราะระดับน้ำท่วมไม่ถึง
– แยกระบบไฟฟ้าในส่วนที่น้ำท่วมบ่อยๆ ออกเป็นอีกวงจรหนึ่ง เพื่อสะดวกในการปิด- เปิดโดยเฉพาะ ส่วนปลั๊กที่อยู่ชั้นล่าง
ถ้าท่านรู้ตัวว่าบ้านของท่านอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมบ่อย เวลาออกแบบ้านก็ควรให้วิศวกรแยกระบบไฟฟ้าตั้งแต่แรก ก็จะประหยัดงบประมาณได้มาก และจะสวยงามกว่าที่จะมารื้อและแก้ ไขในภายหลัง

วิธีจะใช้เครื่องไฟฟ้าหลังโดนน้ำท่วม
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ จะมีมอเตอร์และเครื่องจักรกลต่างๆ เมื่อโดนน้ำเข้าไปแล้วจะมี ความชื้นอยู่ ซึ่งเป็นอันตรายมาก มีข้อควรปฏิบัติ  ดังนี้
– ก่อนอื่นต้องทิ้งเอาไว้ให้แห้งสนิทจริงๆ บางส่วนถึงถอดออกได้ ก็ควรเปิดออกมาตากลมให้แห้งก่อน
– เมื่อแน่ใจว่าแห้งแล้ว ก็ลองเปิดเครื่องดู ถ้ามีความผิดปกติก็ควรดับเครื่องทันที
– และสำหรับที่คัตเอ๊าต์ไฟฟ้า ควรมีฟิวส์ไว้เมื่อเกิดการลัดวงจรไฟฟ้าจะได้ถูกตัดออก
– ถ้ามีปัญหาจริงๆ ก็ควรนำไปให้ช่างแก้ไขดีกว่าจะทำเอง

การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม
การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้
– พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด
– พวกประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่
– เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ที่เรียกว่า Built in ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด
– ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้

วิธีช่วยต้นไม้ทีโดนน้ำท่วม
ถ้าบ้านของท่าน น้ำท่วมนานๆ ต้นไม้กำลังจะตาย มีวิธีช่วยให้อยู่รอดได้ ดังนี้
1. อย่าให้ปุ๋ย เพราะน้ำท่วมทำให้รากอ่อนแอ ต้องการเวลาพักฟื้น
2. ขุดหลุมกว้างประมาณ 50 ซม.-1 เมตรไว้ข้างๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำที่ขังอยู่บริเวณรากไหลมารวมกัน แล้วเอาเครื่องดูดน้ำออกไป หรือจะใช้วิธีตักออกก็ได้
3.ถ้ารากต้นไม้ไม่แข็งแรง อย่าอัดดินลงไป จะทำให้ต้นไม้ตาย ควรใช้ไม้ค้ำยันลำต้นไว้ เมื่อรากแข็งแรงแล้ว จึงเอาไม้ค้ำออก

การซ่อมแซมรั้วบ้านหลังน้ำท่วม
เมื่อน้ำท่วมอยู่นานๆ รั้วบ้านก็จะมีปัญหาเช่นกัน มีวิธีซ่อม คือ
– ลองเล็งด้วยสายตา ถ้าเอียงเล็กน้อยก็นำไม้มาค้ำยันไว้ก่อน ถ้าเอียงมากก็ควร ตามช่างมาซ่อม
– ส่วนใหญ่ข้างล่างของรั้วจะมีคานคอดินอยู่ บางครั้งน้ำจะพัดเอาดินใต้คานนี้หายไปเป็นโพรง ต้องรีบนำดินมาถมให้แข็งแรง มิฉะนั้นดินในบ้านจะไหลออกไปข้างนอกหมด ถ้าไหลออกไปมากๆ อาจทำให้บ้านเอียงได้
– ควรตรวจประตูรั้วด้วย สำหรับที่เป็นเหล็กก็ขูดสนิมออกให้หมด แล้วทาสีใหม่ ส่วนบานพับก็หาน้ำมันหล่อลื่นมาหยอดเพื่อที่จะได้เปิด-ปิดได้สะดวก ถ้าเสียหายมากก็ควรเรียกช่างมาเปลี่ยนใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก “ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง”

ผนังบ้านแช่น้ำนาน ๆ เป็นอะไรมั๊ย จะแก้ไขดูแลอย่างไร!

วัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเกือบทุกอย่าง หากแม้โดนแช่น้ำไว้นาน ๆ ย่อมต้องมีอาการเสื่อมสภาพไป มากบ้าง น้อยบ้าง ตอบคำถามที่ว่า ผนังและสีทาบ้านที่ถูกน้ำท่วมแล้วเป็นอะไรหรือไม่ คงตอบว่า “เป็นอะไรแน่นอน” ขอให้คำปรึกษา ในการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้

1. หากผนังทำด้วยไม้ ไม่ต้องทำอะไรมากปล่อยให้แห้งก็เพียงพอแล้ว ยกเว้นแต่ส่วนที่อยู่ ในระยะระดับที่ น้ำขึ้นลง อาจจะผุไปบ้าง (ธรรมชาติของไม้ หากอยู่แห้ง ๆ ก็ไม่เป็นไร หากอยู่ใต้น้ำเลย ก็ไม่ค่อยเป็นไร แต่หากอยู่บริเวณระดับที่เดี๋ยวน้ำขึ้น เดี๋ยวน้ำลง จะมีปัญหาเรื่องการผุกร่อนได้ง่าย ดูได้ตามเสาโป๊ะ หรือเสา ที่ปักไว้ในน้ำ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่จะผุกร่อนก่อนที่สุด คือ บริเวณระดับผิวน้ำที่เดี๋ยวแห้ง เดี๋ยวเปียก) เมื่อน้ำในบ้านลดลง เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบความสกปรกออก เพื่อสุขภาพของคนในบ้าน และเพื่อให้ผิว ที่ทำความสะอาดแล้ว สามารถระเหย ความชื้นออกมาได้ง่าย ทั้งไว้จนแน่ใจว่า ผนังของเรา แห้งดี จึงใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ ชโลมลงที่ผิว (อย่าทาแลคเกอร์ หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ หรือสีทาผนัง ก่อนที่จะ ให้ตัวผนังแห้ง เพราะจะทำ ให้น้ำและความชื้น ระเหยไม่ออก จะเกิดอาการ “ชื้นและผุฝังใน”) การทาสี หรือทายารักษาเนื้อไม้ อาจจะทาเฉพาะ ด้านในตัวบ้านก่อนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สัก หลายเดือน จึงค่อยทาสีภายนอก ตัวอาคาร เพื่อให้มั่นใจจริง ๆ ว่า ผนังของเรา แห้งสนิทแล้ว (อย่าอายใคร หากบ้านเรา จะไม่สวยสัก 5-6 เดือน เพราะเรื่องน้ำท่วมนี้ ไม่ใช่ความผิดของเรา… เราเป็นเพียง ผู้รับกรรมเท่านั้น)

2. หากผนังของท่านเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ก็ดำเนินการในระบบที่คล้ายกับผนังไม้ ตามที่กล่าวแต่แรก แต่อาจจะต้อง ทิ้งเวลานานหน่อย เพราะการระบายความชื้น ของผนังก่ออิฐนั้น ยากกว่าผนังไม้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ ผนังไม้อาจแตกต่าง กับผนังก่ออิฐก็คือ “สิ่งที่อยู่ภายในผนัง” ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำ ฯลฯ เราต้องตรวจสอบ สิ่งเหล่านี้ด้วยว่า อยู่ในสภาพเหมือนเดิม การให้ความชื้นระเหยออกง่าย ต้องพยายามไม่เอาสิ่งของ หรือตู้ โต๊ะ ตั้งติดไว้ที่ผนัง (ขอให้ทนความไม่สะดวกสบายสักพัก) แต่ก็กรุณา อย่าถึงกับเอา ไฟฟู่ มาเผาให้ผนังแห้งเร็ว เดี๋ยวกลายเป็น หนีน้ำท่วม ไปปะไฟไหม้ จะไม่คุ้มกัน บางคนอาจจะเอา ไฟ สปอตไลท์ มาส่อง ให้ความร้อน ผนังจะได้ระเหย เอาความชื้น ออกมาเร็ว ๆ ก็ไม่ค่อยคุ้มเท่าไร เพราะจะเสียค่า กระแส ไฟฟ้าจำนวนไม่น้อย (เก็บเงินค่าไฟฟ้าส่วนนี้ ไปใช้ในการซ่อมแซมบ้าน หลังน้ำท่วม ส่วนอื่นจะดีกว่า)

3. หากผนังของท่านทำด้วยยิบซั่มบอร์ด จะต้องเข้าใจในพื้นฐานและธรรมชาติของแผ่นยิบซั่มบอร์ด เสียก่อน ว่า เจ้าแผ่นนี้ เป็นเพียง ผงปูนยิบซั่ม ที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่ากระดาษจะดีเพียงไร หากถูกน้ำท่วม สักพักเดียว รับรองว่า แอ่นยุ่ยกันเป็นแถว วิธีที่ดีที่สุด ก็คือเลาะเอาแผ่นยิบซั่มนี้ ออกจากตัวโครงเคร่าผนัง หากเป็นโครงเคร่าที่ทำด้วยโลหะ ก็สามารถติดแผ่นใหม่เข้าแทนที่ได้เลย แต่หากโครงเคร่าเป็นไม้ คงต้องทิ้ง ไว้ สักหลายวัน ให้ความชื้น ในโครงไม้นั้น ระเหยออกเสียก่อน จึงค่อยบุแผ่นใหม่ เข้าแทนที่

4. ผนังที่ทำด้วยโลหะ หรือผนังที่ทำด้วยกระจก ยามน้ำท่วมคงจะไม่เป็นอะไรมาก แต่เมื่อน้ำลดแล้ว น่าจะ ต้อง ตรวจสอบ ตามซอก ตามรอยต่อ ว่ายังมีน้ำ หรือเศษขี้ผง ฝังในอยู่หรือไม่ หากมี ก็ทำความสะอาดเสีย (สิ่งที่น่าจับตามอง สำหรับผนัง หรือโครงอลูมิเนียมก็คือ น้ำอาจขังในท่อ ของอลูมิเนียม)

5. ผนังชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติ คล้ายกับผนังทั้งสี่ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ลองเปรียบเทียบดู แล้วแก้ไข ตามแนวทางนั้นๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก “ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง”

ข้อแนะนำเกียวกับไฟฟ้า

ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารสภาพอากาศ ประกาศเตือนจากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมทุกขณะและมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ดังนี้

– ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง

– กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง

– กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง

– กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***

– ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือระบบจำหน่ายในพื้นที่น้ำท่วมอย่างน้อย 1 – 2 เมตร เพื่อความปลอดภัย หากพบเห็นสายไฟฟ้าขาดหรือเสาไฟฟ้าล้มหรือสายไฟฟ้าขาดแช่น้ำ อย่าเข้าใกล้หรือสัมผัส ให้รีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการแก้ไข

– พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย

* ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้น ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล

* หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 โดยเร็วที่สุด

* อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วนผู้ประสบอันตราย

*** การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า จำเป็นต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบและระมัดระวังเป็นพิเศษ ***

สอบถามข้อมูล แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องหรือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับไฟฟ้าได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สายด่วน กฟภ. โทร.1129 PEA Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง

ที่มาข้อมูลและภาพ :
– แผนกส่งเสริมและเผยแพร่ความปลอดภัย กองมาตรฐานความปลอดภัย ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

10 บัญญัติขจัดโรคในช่วงน้ำท่วม

     หากแม้นคันกั้นน้ำและประตูน้ำคือด่านป้องกันเมืองจากมวลน้ำมหาศาลแล้วไซร้ ตัวท่านก็คือด่านกั้นโรคที่สำคัญที่จะป้องกันมวลเชื้อโรคจำนวนมหาศาลที่จ้องจะผ่านเข้าสู่ร่างกายไปอยู่ทุกขณะ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ เผย 10 บัญญัติขจัดโรคในช่วงน้ำท่วม
เริ่มจากบัญญัติข้อแรก ‘อย่าเพิ่งตัดเล็บเท้าหรือเล็บมือช่วงน้ำท่วม’ รวมถึงการตะไบเล็บด้วยในกรณีที่ต้องแช่น้ำท่วมอยู่บ่อยครั้ง เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เชื้อน้ำเน่าพากันแห่เข้าเท้าราวกับเป็นศูนย์อพยพชั้นดี

บัญญัติข้อถัดมา ‘อย่าให้มีหวัดหรือรีบรักษาภูมิแพ้คัดจมูกให้หาย’ ไม่เช่นนั้นมีสิทธิ์กลายเป็นปอดบวม ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างได้ถ้าต้องเปียกติดน้ำอยู่นาน

ต่อด้วยบัญญัติข้อสาม ‘เริ่มเป็นหวัด ให้กินยากันไว้ก่อน’ ใช้ยาสามัญอย่าง ยาแก้แพ้คลอเฟนิรามีนก็ได้ครับ ช่วยให้หลับได้แล้วหวัดที่เป็นน้อยอาจหายได้เลยครับ

บัญญัติข้อสี่ ‘เลี่ยงนอนทั้งหัวเปียก’ และเมื่อผมเปียกแล้วต้องสระผม เพราะความเย็นจากศีรษะส่งให้โพรงจมูกเย็นเป็นที่แบ่งตัวดีของไวรัสหวัด ให้สังเกตว่าเรามักเป็นหวัดเมื่อหัวเย็นครับ
ในบัญญัติข้อห้า ‘ลดการนอนเปิดแอร์’ บ้านเรามีเด็กติดแอร์เยอะครับ เพราะคุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ต้องเปิดแอร์ให้ลูกนอน ตอนน้ำท่วมอากาศชื้นอยู่แล้ว การเปิดแอร์จะทำให้อุณหภูมิศีรษะต่ำลงเป็นที่อาศัยของเชื้อหวัดดีกว่าปกติ
ตามด้วยข้อหก ‘ให้งีบหลับพักผ่อนบ้าง’ จะเป็นกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ ให้พักกันเข้าไว้ถ้าไม่อยากพลาดข่าวด่วนอาจสลับเวรกันนอนได้ ขอให้คิดว่าจะได้ตื่นมามีแรงสู้ต่อในวันรุ่งขึ้นครับ
ส่วนบัญญัติประการที่เจ็ด ‘งดการกินมากสิ่ง’ ยิ่งกินหลากหลายมากในตอนน้ำท่วมก็ยิ่งเพิ่มสิทธิ์ป่วยมากขึ้น เพราะความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียอย่าง อี.โคไล จากน้ำสกปรกมีมากในช่วงนี้ครับ
นอกจากนี้ บัญญัติข้อแปดให้ ‘พักสมองด้วยการลองพักเสพสื่อน้ำท่วมเป็นระยะ’ กำหนดเวลารับข่าวต่อวันเป็นรายชั่วโมง เพื่อลดความเครียดสะสมจากการจมอยู่กับข่าวที่น่าหดหู่

และข้อเก้า ‘ล้างมือล้างเท้าเป็นประจำ’ เพราะเป็นทางด่วนนำเชื้อน้ำท่วมเข้าตัวที่สำคัญ แค่ล้างมือ-เท้าอย่างเดียวยังไม่พอขอให้ซับแห้งทุกครั้ง จะได้ไม่ดูดเชื้อโรคเข้ามาเกาะง่าย

บัญญัติสุดท้าย ‘ล้างปากแปรงลิ้นและแปรงฟันทุกวัน’ ไม่ว่าจะติดน้ำนานแค่ไหนเพราะช่องปากเป็นปราการด่านสำคัญที่รับเชื้อเข้าทางเดินอาหาร,เข้าหลอดเลือดและเข้าหัวใจได้
แต่ที่สำคัญนอกเหนือจากบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวมา นพ.กฤษดา เน้นเพิ่มว่า ‘อย่าลืมรัก’ คือความเมตตาที่มีให้กัน หากมองตากันด้วยสายตาแห่งรักที่คิดว่าจะช่วยอะไรกันได้บ้าง จะเห็นสายน้ำงามได้แม้ในห้วงทุกข์สาหัส.

ขอบคุณข้อมูลจาก “เดลินิวส์ออนไลน์”